เมนู

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กินเยอะ ท้องป่อง หงุดหงิดตอนก่อนมีประจำเดือน จะแก้ยังไง

 


PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ



PMS มีอาการอย่างไร? อาการก่อนเป็นประจำเดือน

ก่อนวันนั้นของการมีประจำเดือนมักมีอาการแสดงให้รู้ตัว โดยสามารถแบ่งได้เป็นอาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม และอาการทางด้านร่างกาย ดังนี้

อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่

  • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
  • มีความตึงเครียดและไม่มีสมาธิ
  • มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ วิตกกังวล
  • มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
  • มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)

อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่

  • เจ็บเต้านม
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • มีสิวขึ้น




MS รับมือหรือบรรเทาได้อย่างไร?

ในช่วงก่อนมีประจำเดือนเราสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ  เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด พยายามอย่าเครียด นอนหลับให้เพียงพอ งดการดื่มเหล้า กาแฟ และชา เป็นต้น

ถ้าปวดท้องประจำเดือนมาก ควรทำอย่างไร ?

หากปวดท้องประจำเดือนมาก แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  1. ประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน ไออุ่นจากกระเป๋าน้ำร้อนมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดอาการปวดได้
  2. ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น
  3. นอนขดตัว การนอนพักถือเป็นอีกหนึ่งการบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เพราะการนอนขดตัวจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องคลายตัว
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ (Low Fat) เช่น บลูเบอรี่ มะเขือเทศ พริกหยวก เป็นต้น ซึ่งอาหารดังกล่าวสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  5. ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดตัว เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว
  6. รับประทานยาแก้ปวดประจำเดือน หากมีอาการปวดมาก เช่น ปวดจนเดินไม่ไหว เป็นต้น

PMS นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้หญิงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว คนรัก เพื่อนร่วมงาน หากพบว่าอาการ PMS มีผลจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถควบคุมอาการได้ และมีความผิดปกติทางสุขภาพและอารมณ์อย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น