เมนู

วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2567

BINGE RECOVER : Lesson 2 Hunger and Satiety)

 

บทที่2 เรียนรู้สัญญาณหิวและอิ่ม

(hunger  and satiety)

1. ถามตัวเองว่าหิวจริงหรือไม่

เริ่มต้นด้วยการถามตัวเองว่า “ฉันรู้สึกหิวจริง ๆ หรือไม่?” ความหิวทางร่างกายมักจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และอาจเกิดร่วมกับสัญญาณทางกาย เช่น

ท้องร้อง

รู้สึกอ่อนแรง

เวียนหัว

ขาดพลังงาน

ในขณะที่ความหิวจากอารมณ์มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเป็นแรงผลักดันให้คุณอยากกินอาหารประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ (เช่น ขนมหวานหรืออาหารที่ให้ความรู้สึกสบาย)

2. ประเมินความหิวด้วยสเกล 1-10

ใช้สเกลความหิว 1-10 เพื่อประเมินระดับความหิวก่อนที่จะกิน:

1-2: หิวมากจนรู้สึกอ่อนแรง

3-4: เริ่มรู้สึกหิวเล็กน้อย

5-6: รู้สึกเป็นกลาง ไม่หิวหรืออิ่มเกินไป

7-8: อิ่มสบาย ไม่ต้องการอาหารเพิ่มเติม

9-10: อิ่มมากจนรู้สึกอึดอัด

ถ้าคุณอยู่ที่ระดับ 1-4 นั่นแสดงว่าร่างกายต้องการอาหารจริง ๆ แต่ถ้ารู้สึกอยากกินที่ระดับ 5-6 หรือต่ำกว่า นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าความอยากกินเกิดจากอารมณ์ ไม่ใช่จากความหิว


3. สำรวจอารมณ์ของตนเอง

หากคุณคิดว่าความอยากกินไม่ได้เกิดจากความหิวทางกาย ลองถามตัวเองว่ากำลังรู้สึกอะไรอยู่:


เครียด

เบื่อ

เหงา

เศร้า

โกรธ


หากคุณตอบว่าใช่กับอารมณ์ใด ๆ เหล่านี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าความอยากกินเกิดจากอารมณ์มากกว่าความต้องการทางกาย

4. รอ 10-15 นาทีก่อนตัดสินใจกิน

เมื่อรู้สึกอยากกินอาหารเพราะอารมณ์ ลองรอสัก 10-15 นาทีเพื่อดูว่าความอยากนั้นยังคงอยู่หรือไม่ ระหว่างรอ คุณสามารถลองทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดหรืออารมณ์ เช่น:


การเดินเล่น

อ่านหนังสือ

ฟังเพลง

ทำสมาธิ


ถ้าหลังจากช่วงเวลานั้นคุณยังคงรู้สึกหิว อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายต้องการอาหารจริง ๆ

5. ถามตัวเองว่ากินจะช่วยแก้ปัญหาหรือไม่


ถามตัวเองว่า “ถ้ากินแล้ว ฉันจะรู้สึกดีขึ้นจริง ๆ ไหม?” การกินเพื่อลดความเครียดหรือแก้ปัญหาอารมณ์มักจะไม่ทำให้อารมณ์ดีขึ้นในระยะยาว อาจทำให้รู้สึกผิดหรือไม่สบายใจมากขึ้นหลังจากกินแล้ว

6. หาวิธีจัดการกับอารมณ์โดยไม่ใช้การกิน หากพบว่าความอยากกินเกิดจากอารมณ์ ควรหาวิธีจัดการกับอารมณ์นั้นอย่างสร้างสรรค์ เช่น: การทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น การฝึกโยคะหรือการหายใจลึก

การพูดคุยกับเพื่อนหรือคนใกล้ชิดเพื่อแบ่งปันความรู้สึก

การหาวิธีระบายอารมณ์ เช่น การเขียนบันทึกหรือทำงานศิลปะ

7. รับรู้ถึงผลกระทบหลังการกิน

ถ้าคุณตัดสินใจกิน ลองสังเกตความรู้สึกของคุณหลังจากนั้น เช่น คุณรู้สึกพอใจ อิ่มสบาย หรือรู้สึกผิดหรือไม่? การสะท้อนความรู้สึกหลังการกินจะช่วยให้คุณเรียนรู้และเข้าใจพฤติกรรมของตัวเองได้ดีขึ้นในครั้งต่อไป


สรุป 

การประเมินว่าควรกินหรือไม่ควรกินเมื่อเกิดความอยากจากอารมณ์ ควรใช้การสังเกตสัญญาณทางร่างกาย ควบคู่กับการสำรวจอารมณ์ของตนเอง ถ้าพบว่าเกิดจากอารมณ์มากกว่าความหิว การหาวิธีจัดการอารมณ์ที่ไม่ใช้การกินจะเป็นทางเลือกที่ดี


contract


Contract instragram : https://www.instagram.com/amyamps_hea...
Line : @aui4947n


บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง 
BINGE EATING COVER : บทที่1 Listen & Honest
โภชนาการ โปรตีน : อาหารแลกเปลี่ยน โปรตีน 




วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2567

BINGE RECOVER :Lesson1 Listen & Honest

 บทที่1 Listen & Honest 

(ทำความเข้าใจและยอมรับสภาวะของตัวเอง)

สิ่งแรกที่สำคัญคือการยอมรับว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาการกินไม่หยุด ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติหรือควรรู้สึกละอายใจ การเข้าใจว่าพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเพราะสภาวะทางจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล หรืออารมณ์ที่ไม่มั่นคง ช่วยให้คุณสามารถเริ่มต้นดูแลตนเองได้

1. ฝึกสติ (Mindfulness): ฝึกสติในการรับประทานอาหาร โดยให้เธอรับรู้ถึงความหิวและความอิ่มของร่างกาย รวมถึงความรู้สึกทางกายภาพและจิตใจระหว่างการกิน อาจใช้วิธีการกินอย่างมีสติ (mindful eating) โดยการเคี้ยวอาหารช้า ๆ สังเกตถึงรสชาติ กลิ่น เนื้อสัมผัส และความรู้สึกขณะรับประทาน วิธีนี้จะช่วยให้เธอเชื่อมต่อกับความต้องการของร่างกายมากขึ้น

2. เรียนรู้สัญญาณหิวและอิ่ม: ให้เธอฝึกการรับรู้สัญญาณหิว-อิ่มของร่างกายอย่างละเอียด เช่น สอนให้เธอเริ่มกินเมื่อรู้สึกหิว (hunger) และหยุดกินเมื่อรู้สึกอิ่มพอดี (satiety) การฟังสัญญาณเหล่านี้จะช่วยปรับสมดุลการรับประทานอาหารตามที่ร่างกายต้องการจริง ๆ แทนที่จะได้รับอิทธิพลจากความคิดหรือคำพูดของคนอื่น

3. การตรวจสอบอารมณ์ก่อนการกิน: นางสาว ก ควรสำรวจว่าการกินในแต่ละครั้งนั้นเป็นการตอบสนองต่อความหิวทางกาย หรือเกิดจากความเครียด ความเศร้า หรือความเบื่อ หากเป็นการกินตามอารมณ์ อาจช่วยให้เธอเรียนรู้ที่จะหาวิธีจัดการกับอารมณ์เหล่านั้นแทนการใช้การกินเป็นวิธีแก้ไข

4. การบันทึกความรู้สึกและความหิว: ให้เธอบันทึกความรู้สึกและความหิวก่อนและหลังการกินในแต่ละมื้อ การเขียนบันทึกจะช่วยให้เธอเชื่อมโยงความรู้สึกของร่างกายกับสิ่งที่เธอกำลังรับประทาน และเรียนรู้ในการรับฟังเสียงจากภายในได้ดีขึ้น

5. การลดการควบคุมอาหารอย่างเข้มงวด: ช่วยเธอลดความเข้มงวดในการควบคุมอาหาร โดยสนับสนุนให้เธอกินอาหารหลากหลายชนิดในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกาย แทนที่จะเน้นการจำกัดอาหาร การยอมให้ตัวเองกินสิ่งที่ชอบในบางครั้งโดยไม่รู้สึกผิดจะช่วยให้เธอมีความสัมพันธ์ที่ดีกับการกินมากขึ้น

6. สนับสนุนการพักผ่อนและการจัดการความเครียด: ความเครียดและความเหนื่อยล้าสามารถทำให้ร่างกายสูญเสียการรับรู้ถึงสัญญาณความหิวหรืออิ่ม การให้เธอฝึกการพักผ่อนอย่างเพียงพอและการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม จะช่วยให้เธอสามารถฟังเสียงจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น



contract


Contract instragram : https://www.instagram.com/amyamps_hea...
Line : @aui4947n


บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

โภชนาการ ผลไม้ : ผลไม้อะไร กินได้แค่ไหน 
โภชนาการ โปรตีน : อาหารแลกเปลี่ยน โปรตีน 

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567

กินเยอะ ท้องป่อง หงุดหงิดตอนก่อนมีประจำเดือน จะแก้ยังไง

 


PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ



PMS มีอาการอย่างไร? อาการก่อนเป็นประจำเดือน

ก่อนวันนั้นของการมีประจำเดือนมักมีอาการแสดงให้รู้ตัว โดยสามารถแบ่งได้เป็นอาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม และอาการทางด้านร่างกาย ดังนี้

อาการทางด้านอารมณ์และพฤติกรรม ได้แก่

  • มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
  • มีความตึงเครียดและไม่มีสมาธิ
  • มีอารมณ์เศร้า ร้องไห้กับเรื่องเล็ก ๆ วิตกกังวล
  • มีความต้องการหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ
  • มีพฤติกรรมแยกตัวออกจากสังคม (Social Withdrawal)
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ (Insomnia)

อาการทางด้านร่างกาย ได้แก่

  • เจ็บเต้านม
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง ท้องอืด
  • ท้องผูกหรือท้องเสีย
  • น้ำหนักตัวเพิ่ม
  • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • มีสิวขึ้น




MS รับมือหรือบรรเทาได้อย่างไร?

ในช่วงก่อนมีประจำเดือนเราสามารถปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งยาใดๆ  เช่น ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดหรือหวานจัด พยายามอย่าเครียด นอนหลับให้เพียงพอ งดการดื่มเหล้า กาแฟ และชา เป็นต้น

ถ้าปวดท้องประจำเดือนมาก ควรทำอย่างไร ?

หากปวดท้องประจำเดือนมาก แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

  1. ประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน ไออุ่นจากกระเป๋าน้ำร้อนมีส่วนช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดอาการปวดได้
  2. ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ควรเป็นน้ำอุ่น เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น
  3. นอนขดตัว การนอนพักถือเป็นอีกหนึ่งการบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ เพราะการนอนขดตัวจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องคลายตัว
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ (Low Fat) เช่น บลูเบอรี่ มะเขือเทศ พริกหยวก เป็นต้น ซึ่งอาหารดังกล่าวสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้
  5. ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดตัว เพราะจะยิ่งทำให้รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว
  6. รับประทานยาแก้ปวดประจำเดือน หากมีอาการปวดมาก เช่น ปวดจนเดินไม่ไหว เป็นต้น

PMS นอกจากจะสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้หญิงแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว คนรัก เพื่อนร่วมงาน หากพบว่าอาการ PMS มีผลจนเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สามารถควบคุมอาการได้ และมีความผิดปกติทางสุขภาพและอารมณ์อย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว







วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567

คลอเรสเตอรอลในอาหารไทย

 ตารางคลอเรสเตอรอลในอาหารไทย


ประเภทของไขมัน
1. ไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์ ได้แก่  :  น้ำมันหมู  น้ำมันไก่  น้ำมันจากวัว  ครีม  นมสด  เนย ไข่แดง เบคอน และหนังสัตว์ /มันสัตว์
            - มีคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่จำเป็นต่อร่างกาย
            - ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ

2. ไขมันหรือน้ำมันจากพืช แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
            2.1 ชนิดที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่  :  น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันคาโนล่า น้ำมันรำข้าว งา ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
            - เพิ่มระดับไขมันตัวดี (เอชดีแอล—คอเลสเตอรอล)
            - ลดระดับไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล—คอเลสเตอรอล) และลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์
            - ช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้ได้ดีขึ้น และช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินในผู้เป็นเบาหวาน

2.2 ชนิดที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ได้แก่  :  น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด และน้ำสลัดต่างๆ
            - ลดระดับไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล—คอเลสเตอรอล)
            - ถ้ากินในปริมาณที่มากเกินไปจะลดระดับไขมันตัวดี (เอชดีแอล—คอเลสเตอรอล)

2.3 ชนิดที่ให้กรดไขมันอิ่มตัว ได้แก่ : น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และกะทิ
            -ให้กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง


กรณีที่เป็นผู้ที่มีปัญหา เบาหวาน ไขมันสุง ความดันสุง อยุู่แล้ว แนะนำให้กินคลอเลสเตอรอล ไม่ควรเกิน 200-300 มก./วัน 

กรณีเป็นผู้ที่ต้องการจะควบคุมน้ำหนัก ค่าเลือดปกติ ไม่มีกรรมพันธ์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ไขมันสุง ความดัน หัวใจและหลอดเลือด สามารถรับประทานเกินกว่า200-300 มก./วันได้บ้าง ขึ้นกับกิจกรรมและการออกกำลังกาย 













 















 

ความต้องการไขมันของร่างกาย ร่างกายต้องการไขมันโดยรวมไม่ควรเกินร้อยละ 25—30 
ของพลังงานทีต้องการต่อวัน ดังนี 




ไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์ (Trans Fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) 

เป็นกรดไขมันทีมี โครงสร้างทางเคมีแตกต่างไปจากเดิม ซึงเกิดจากทังสาเหตุธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมทีมี การเติมไฮโดรเจนลงในนํ ามันพืช เรียกว่า “กระบวนการไฮโดรจิเนชัน” 


อันตรายจากไขมันทรานส์: ทําให้เพิมระดับไขมันตัวร้ายและลดระดับไขมันตัวดี และยังเพิมความเสียง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แหล่งอาหารทีมีไขมันทรานส์ อาหารทีพบว่ามีไขมันทรานส์อยู่จํานวนมาก คือ ขนมอบหรือเบเกอรีทีมีมาการีนและเนยขาว เป็ นส่วนประกอบ เช่น คุกกี แครกเกอร์ ขนมปัง และขนมขบเคี ยว เป็ นต้น และยังพบในครีมเทียม อาหารอบ อาหารทอด และอาหารทีใช้นํ ามันทอดซํ า ไขมันทรานส์บางชนิดพบในผลิตภัณฑ์ทีมาจากสัตว์ เช่น เนย นมสด และเนื อวัว เป็ นต้น แต่ พบในปริมาณเล็กน้อย 





วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

น้ำจิ้มสุกี้


อ้างอิงจากการสำรวจของนิตยสารฉลาดซื้อ 

ปริมาณโซเดียมและน้ำตาลที่เหมาะสมต่อสุขภาพ

***ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม ส่วนปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม

ผลการสำรวจ

โซเดียม

ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่พบปริมาณโซเดียมสูงที่สุด คือ น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อควิกเชฟ (สูตรกวางตุ้ง) ที่บอกไว้ในฉลากโภชนาการว่ามีปริมาณโซเดียม 740 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (2,400 มิลลิกรัม)

ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้ออื่นๆ ที่พบปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง ได้แก่ ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ (สูตรกวางตุ้ง) พบปริมาณโซเดียมจากการส่งวิเคราะห์โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ที่ปริมาณ 2,152 มิลลิกรับต่อ 100 กรัม หรือที่ประมาณ 646 มิลลิกรัม ต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ ยี่ห้อ แม่ประนอม (สูตรกวางตุ้ง) และ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ที่แสดงปริมาณโซเดียมไว้ที่ 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

ส่วนตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่เหลือพบปริมาณโซเดียมเฉลี่ยที่ประมาณ 500 – 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นการแสดงปริมาณโซเดียมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้น

แต่เชื่อว่าหลายคนเวลาทานสุกี้หรือทานพวกอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีน้ำจิ้มสุกี้เป็นน้ำจิ้ม คงไม่เติมกันแค่ 2 ช้อนโต๊ะ หลายคนเติมแล้วเติมอีก บางคนก็กินน้ำจิ้มกันทีเป็นถ้วยๆ ฉลาดซื้อขอเตือนว่าใครที่มีพฤติกรรมกินน้ำจิ้มสุกี้แบบนั้น มีสิทธิได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่เหมาะสมกับสุขภาพ (2,400 มิลลิกรัมต่อวัน)

 




น้ำตาล

ปริมาณน้ำตาลในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่พบในการสำรวจ เฉลี่ยอยู่ที่ 7 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ที่พบมีปริมาณสูงสุดคือ ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อเจ๊เล็ก (สูตรกวางตุ้ง เผ็ดกลาง) ซึ่งแสดงปริมาณน้ำตาลในฉลากโภชนาการไว้ที่ 4 กรัมต่อหนึ่งช้อนโต๊ะ (17 กรัม) หรือถ้าเทียบเป็น 2 ช้อนโต๊ะ (34 กรัม) แบบตัวอย่างอื่นๆ จะเท่ากับ 8 กรัม ซึ่งมากที่สุดในตัวอย่างทั้งหมด 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (24 กรัม)

สำหรับตัวอย่างที่พบปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่ฉลาดซื้อสุ่มสำรวจครั้งนี้คือ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (33 กรัม)

เช่นเดียวกับโซเดียม การทานน้ำจิ้มสุกี้ในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพของเรา