วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2567

คลอเรสเตอรอลในอาหารไทย

 ตารางคลอเรสเตอรอลในอาหารไทย


ประเภทของไขมัน
1. ไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์ ได้แก่  :  น้ำมันหมู  น้ำมันไก่  น้ำมันจากวัว  ครีม  นมสด  เนย ไข่แดง เบคอน และหนังสัตว์ /มันสัตว์
            - มีคอเลสเตอรอลและกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่จำเป็นต่อร่างกาย
            - ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง อาจทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ

2. ไขมันหรือน้ำมันจากพืช แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
            2.1 ชนิดที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ได้แก่  :  น้ำมันมะกอก น้ำมันงา น้ำมันคาโนล่า น้ำมันรำข้าว งา ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
            - เพิ่มระดับไขมันตัวดี (เอชดีแอล—คอเลสเตอรอล)
            - ลดระดับไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล—คอเลสเตอรอล) และลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์
            - ช่วยให้ร่างกายนำน้ำตาลกลูโคสไปใช้ได้ดีขึ้น และช่วยลดภาวะดื้ออินซูลินในผู้เป็นเบาหวาน

2.2 ชนิดที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ได้แก่  :  น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด และน้ำสลัดต่างๆ
            - ลดระดับไขมันตัวร้าย (แอลดีแอล—คอเลสเตอรอล)
            - ถ้ากินในปริมาณที่มากเกินไปจะลดระดับไขมันตัวดี (เอชดีแอล—คอเลสเตอรอล)

2.3 ชนิดที่ให้กรดไขมันอิ่มตัว ได้แก่ : น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว และกะทิ
            -ให้กรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งไม่ควรบริโภคมากเกินไป เพราะทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง


กรณีที่เป็นผู้ที่มีปัญหา เบาหวาน ไขมันสุง ความดันสุง อยุู่แล้ว แนะนำให้กินคลอเลสเตอรอล ไม่ควรเกิน 200-300 มก./วัน 

กรณีเป็นผู้ที่ต้องการจะควบคุมน้ำหนัก ค่าเลือดปกติ ไม่มีกรรมพันธ์เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ไขมันสุง ความดัน หัวใจและหลอดเลือด สามารถรับประทานเกินกว่า200-300 มก./วันได้บ้าง ขึ้นกับกิจกรรมและการออกกำลังกาย 













 















 

ความต้องการไขมันของร่างกาย ร่างกายต้องการไขมันโดยรวมไม่ควรเกินร้อยละ 25—30 
ของพลังงานทีต้องการต่อวัน ดังนี 




ไขมันทรานส์ ไขมันทรานส์ (Trans Fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) 

เป็นกรดไขมันทีมี โครงสร้างทางเคมีแตกต่างไปจากเดิม ซึงเกิดจากทังสาเหตุธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมทีมี การเติมไฮโดรเจนลงในนํ ามันพืช เรียกว่า “กระบวนการไฮโดรจิเนชัน” 


อันตรายจากไขมันทรานส์: ทําให้เพิมระดับไขมันตัวร้ายและลดระดับไขมันตัวดี และยังเพิมความเสียง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แหล่งอาหารทีมีไขมันทรานส์ อาหารทีพบว่ามีไขมันทรานส์อยู่จํานวนมาก คือ ขนมอบหรือเบเกอรีทีมีมาการีนและเนยขาว เป็ นส่วนประกอบ เช่น คุกกี แครกเกอร์ ขนมปัง และขนมขบเคี ยว เป็ นต้น และยังพบในครีมเทียม อาหารอบ อาหารทอด และอาหารทีใช้นํ ามันทอดซํ า ไขมันทรานส์บางชนิดพบในผลิตภัณฑ์ทีมาจากสัตว์ เช่น เนย นมสด และเนื อวัว เป็ นต้น แต่ พบในปริมาณเล็กน้อย 





วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

น้ำจิ้มสุกี้


อ้างอิงจากการสำรวจของนิตยสารฉลาดซื้อ 

ปริมาณโซเดียมและน้ำตาลที่เหมาะสมต่อสุขภาพ

***ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม ส่วนปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม

ผลการสำรวจ

โซเดียม

ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่พบปริมาณโซเดียมสูงที่สุด คือ น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อควิกเชฟ (สูตรกวางตุ้ง) ที่บอกไว้ในฉลากโภชนาการว่ามีปริมาณโซเดียม 740 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (2,400 มิลลิกรัม)

ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้ออื่นๆ ที่พบปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง ได้แก่ ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ (สูตรกวางตุ้ง) พบปริมาณโซเดียมจากการส่งวิเคราะห์โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ที่ปริมาณ 2,152 มิลลิกรับต่อ 100 กรัม หรือที่ประมาณ 646 มิลลิกรัม ต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ ยี่ห้อ แม่ประนอม (สูตรกวางตุ้ง) และ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ที่แสดงปริมาณโซเดียมไว้ที่ 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

ส่วนตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่เหลือพบปริมาณโซเดียมเฉลี่ยที่ประมาณ 500 – 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นการแสดงปริมาณโซเดียมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้น

แต่เชื่อว่าหลายคนเวลาทานสุกี้หรือทานพวกอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีน้ำจิ้มสุกี้เป็นน้ำจิ้ม คงไม่เติมกันแค่ 2 ช้อนโต๊ะ หลายคนเติมแล้วเติมอีก บางคนก็กินน้ำจิ้มกันทีเป็นถ้วยๆ ฉลาดซื้อขอเตือนว่าใครที่มีพฤติกรรมกินน้ำจิ้มสุกี้แบบนั้น มีสิทธิได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่เหมาะสมกับสุขภาพ (2,400 มิลลิกรัมต่อวัน)

 




น้ำตาล

ปริมาณน้ำตาลในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่พบในการสำรวจ เฉลี่ยอยู่ที่ 7 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ที่พบมีปริมาณสูงสุดคือ ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อเจ๊เล็ก (สูตรกวางตุ้ง เผ็ดกลาง) ซึ่งแสดงปริมาณน้ำตาลในฉลากโภชนาการไว้ที่ 4 กรัมต่อหนึ่งช้อนโต๊ะ (17 กรัม) หรือถ้าเทียบเป็น 2 ช้อนโต๊ะ (34 กรัม) แบบตัวอย่างอื่นๆ จะเท่ากับ 8 กรัม ซึ่งมากที่สุดในตัวอย่างทั้งหมด 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (24 กรัม)

สำหรับตัวอย่างที่พบปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่ฉลาดซื้อสุ่มสำรวจครั้งนี้คือ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (33 กรัม)

เช่นเดียวกับโซเดียม การทานน้ำจิ้มสุกี้ในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพของเรา



 

บทความน่าอ่าน

เภสัชขอบอก EP.3 : Foodvolume จัดสัดส่วนอาหารให้เป๊ะ แบบไม่ต้องคำนวณ

เภสัชขอบอก EP.3 :จัดสัดส่วนอาหารให้เป๊ะ แบบไม่ต้องคำนวณ ถ้าคิดจะลดน้ำหนัก เริ่มต้นยังไม่ต้องไปนึกถึง อะไรยากๆ เช่น กินคลีน ออกกำลังก...

บทความที่ได้รับความนิยม