วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562

น้ำหนักขึ้น บวม แค่ไหนถึงจะเรียกว่าปกติ น้ำหนักขึ้นแค่ไหนถึงเรียกว่าอ้วน?


น้ำหนักขึ้น บวม แค่ไหนถึงจะเรียกว่าปกติ น้ำหนักขึ้นแค่ไหนถึงเรียกว่าอ้วน? ตอนเป็นปจด. น้ำหนักขึ้นและบวม ผิดปกติไหม#เภสัชขอบอก 



คำถามนี้มีสงสัยกันเยอะ บางคนน้ำหนักขึ้นมา2ขีด ตอนใกล้ปจด.มา ทำเอาจิตตก กระวีกระวาด ปรับอาหาร ให้กินน้อยออกเยอะ ลูกเทรนแอ๋มเองก็ถามคำถามนี่เยอะ แอ๋มเลยขอสรุปด้งนี้ค่ะ .

1. ภาวะ บวมน้ำ คือภาวะปกติช่วงก่อนเป็นประจำเดือน3-7 วัน ภาวะนี้ไม่มีอันตราย เพียงแต่ทำให้นน.ขึ้น2-5 ขีด และจะหายเอง เมื่อปจด.หมดค่ะ .
2. เนื่องจากน้ำหนักที่ขึ้นคือ นน.น้ำ แต่ก็ยังไม่ควรลดการดื่มน้ำ ยิ่งดื่มน้ำน้อยจะยิ่งบวม —-> หลายคนเข้าใจผิดว่าการบวมน้ำ ต้องลดการดื่มน้ำ ... .
3. ภาวะตอนเป็นปจด.อาจกล้ามเนื้อลด และไขมันเพิ่มได้เล็กน้อย อย่ากังวล ปจด.หมดมันจะกลับมาปกติเอง 

4 จากภาพ จะเห็นว่า แอ๋มบวมป่องมาก แอ๋มไม่ได้ลดหรือเพิ่มอาหารอะไร กล้ามเนื้อแอ๋มยังเท่าเดิม เห็นเลข11 เพียงแต่มันบวมน้ำ เลยดูไม่ลีน เหมือนรูปไม่เป็นปจด.
5. หลายคนคิดว่าตัวเองอ้วนขึ้น ไปกินยาลดน้ำหนัก หรือ ยาถ่าย —-> ยาพวกนี้ช่วยขับปัสสาวะ ฉี่บ่อย ทำให้ขับน้ำออกได้เร็ว นน.ลงไว แต่มันไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เมือดื่มน้ำใหม่ นน.ก็ขึ้นอยู่ดี 
6. สิ่งที่น่ากลัวไม่ใช่การบวมน้ำ แต่เป็นการ กินดุ ตอนช่วงเป็นปจด.มากกว่า ที่กินไม่เลือกจนอ้วนขึ้น ... ตรงนี้ต้องทีสติเอง
7. ที่กินดุ ตอนเป็นปจด.เพราะ ฮอรโมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ทั้งมีการบีบตัวมดลูกอยู่ตลอด ทำให้ใช้พลังงานมากกว่าปกติ 100-300kcal จึงทำให้ร่างกายต้องการสารอาหารมากขึ้นเล็กน้อย


8 จากข้อ7 เราสามารถเพิ่มสารอาหารไปได้ในช่วง มีประจำเดือน เล็กน้อย แทนการกินดุ แต่ถ้าไม่หิวอะไรก็ไม่ต้องเพิ่มค่ะ .

#เคลียร์นะ 
😊😊😊

เป็นปจด.ใครก็บวมทั้งนั้นแหละ อย่าคิดมาก
😊😊😊😊


บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง รู้เรื่องแป้ง ep.1 : Complex Carb กินแป้งยังไงให้ไม่อ้วน
โภชนาการ ผลไม้ : ผลไม้อะไร กินได้แค่ไหน 
โภชนาการ โปรตีน : อาหารแลกเปลี่ยน โปรตีน 
โภชนาการ ไขมัน: ไขมันดี ไขมันเลว 

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

แจกสูตร LENTILS BURGER เมนูโปรตีนแน่นๆ กินง่าย PLANT BASED STYLE


แจกสูตร LENTILS BURGER เมนูโปรตีนแน่นๆ กินง่าย  PLANT BASED STYLE



ส่วนประกอบ
  • -                น้ำมันมะกอกสเปรย์ เอาไว้ทอดเบเกอร์
  •             เครื่องสำหรับทำเบเกอร์ 
      • หอมใหญ่หั่นซอยเล็ก ½ หัวใหญ่ 
      • แคอรทเต๋าเล็ก 1หัวเล็ก 
      • มันสุก 250 กรัม หั่นเต๋า  
      •  ผงกระหรี่ ปรุงรส 1 ชช +ผงปาปิก้า ปรุงรส ตามชอบ ประมาณ 1 ชช  
      •  lemtils แบบแห้ง  115กรัม หรือ ประมาณ ½ ถ้วยตวง 
      • ไข่ 1ฟอง

วิธีทำ
1 ตั้งกระทะไฟปานกลางให้ร้อน ผัดเครื่องเบเกอร์ ทั้งหมดจนสุก ค่อยๆ ทยอยใส่ลงไป สุดท้ายปรุงรสด้วย ผงกะหรี่และปาปิก้า
2. เอา lentils แห้งไปแช่น้ำ ต้มจนสุก ลดไฟ เอาน้ำออก ปล่อยให้เย็นลงนิดๆ
3. เอาส่วนที่ 1 กับ 2 ผสมกัน ปล่อยให้เย็น ปั่นให้เป็นเนื้อเดียวกัน ใช้เครื่องปั่น  ใส่ไข่ หรือ อาจใส่เกล็ดขนมปังจะอร่อยขึ้น แบบเด็กๆ ก็กินได้  ผสมให้เข้ากันดี
4. แบ่งเสริฟ 4 ก้อน จะได้ nf ตามภาพ ชิ้นใหญ่มากกก แต่เวลาแอ๋มกินเอง แอ๋มแบ่งเป็นก้อนเล็ก 8 ก้อน ก็เอา nf อันนี้ไปหาร 2 ค่ะ 
5. เอาลงปิ้ง สเปรย์น้ำมันมะกอก ค่อยๆ ปิ้งจนเหลืองทอง 



กรณีที่ไม่มีเครื่องปั่น
-                   ต้มมันให้สุก แล้วบดให้เนียนด้วย ส้อม หรือ ที่บดมัน ใส่เครื่องเบเกอร์ได้แก่ แครอท+หอมที่ผัดแล้ว แล้วปรุงรสด้วย ปาปิก้าและผงกระหรี่ แล้วจึงใส่ lentils ดำเนินตามข้อ 2-5 ตามด้านบน


เวลากิน อาจกินกับผักเพื่อแทนเนื้อตามปกติ หรือ กินกับขนมปังเป็นแซนวิชหรือเบเกอร์ พยายามอย่าใช้เนย ให้ใช้อะโวคาโดบดเพื่อกินแทนเนยปกติ และเสริมด้วยผักสลัดตามปกติค่ะ


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

เภสัชขอบอก: สรุปแล้วกินไข่ได้วันละกี่ฟอง

ไข่เป็นของดีแต่ถ้ากินมากไปมีโทษไหม? กืกินได้วันละกี่ฟอง #เภสัชขอบอก ตอบเคลียร์ทุกประเด็น ตามข้อเท็จจริงหลักวืชาการ 


📌ไข่ขาวกินได้เท่ากับโปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน ใครจะกินเท่าไรต้องคำนวณจากค่าโปรตีน ซึ่งดูตาม นน.ตัว และกิจกรรม (ใครสงสัยทักถามได้ สอนคร่าวๆไปในyoutube สำหรับ #นักเรียนครูแอ๋ม ทุกคน วิธีการคำนวณโปรตีนครูสอนไปแล้วเด้อ) 

📌สิ่งที่เป็นอันตรายคือ ไข่แดง ด้วยไข่แดงมีทั้งไขมันดีและคลอเรสเตอรอลที่สูง จึงเกรงว่าจะทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง หรือ โรคหัวใจและหลอดเลือดได้!! 

แต่!! มีงานวิจัยใหม่ จาก us ยืนยันว่า การกินไข่เต็มใบวันละ4-5ฟอง ไม่มีผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจในมนุษย์ 



นั่นแสดงว่า


1. กินไข่ได้ ในปัจจุบันมีการทดลองแล้ว มากสุดที่5ฟอง ยังไม่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
2. ยังไม่มีการทดลองกินมากกว่า4-5ฟอง ใครกินมากกว่านี้ ยังไม่firm ว่าปลอดภัย
3. การกินไข่เยอะเกินไป cal มากไป ยังทำให้อ้วนอยู่ดี .
4. การกินไข่5ฟอง ไม่ได้ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ไม่ได้พูดถึงโรคอื่นๆ เช่น การกินไข่ที่อาจมีฮอรโมนเยอะจนเป็นมะเร็ง



📌 คหสต : ส่วนตัวแอ๋มกินไข่ประมาณ1-2 ฟองต่อวัน .
📌กรณีลูกเทรนแอ๋มที่ต้องการเพิ่ม นน. แอ๋มยังแนะนำกินไม่เกิน5ฟองค่ะ .
📌กรณีลูกเทรนแอ๋ม ที่ต้องการเพิ่มโปรตีน เพิ่มกล้ามเนื้อ แอ๋มแนะนำให้กินไข่ขาว-ไข่แดง ต้องคำนวณตามสารอาหารโควตาที่เหมาะสมกับ ไขมันและโปรตีนตนเองค่ะ 


เภสัชขอบอก: กินน้ำตาลมาก ทำให้นอนไม่หลับ


กินน้ำตาลมากทำให้นอนไม่หลับ



การนอนเป็นสิ่งสำคัญมากในการลดน้ำหนัก เพิ่มกล้ามเนื้อ ลดไขมัน เมื่อนอนไม่พบ ไม่ใช่แค่น้ำหนักไม่ลง ไขมันยังเพิ่มอีก

การกินอาหารเข้าไปมากๆก่อนนอนจะทำให้ร่างกายโดยเฉพาะกระเพาะอาหารทำงานหนักไม่ได้ ทำงานช้าเหมือนอวัยวะอื่นๆ  ทำให้หลับไม่ดี หลับยาก หรือ หลับไม่สนิท

 เพราะกระเพาะอาหารยังคงทำงาน ทำให้เกิดพลังงานและความร้อนจนทำให้เกิดอาการฝัน หรือนอนกระสับกระส่าย สุดท้ายร่างกายก็พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไม่หมด กล้ามไม่ขึ้น ไขมันไม่ลง ไม่สด


ทางที่ดี แนะนำให้กินให้เสร็จก่อนที่จะนอน4ชั่วโมงนะคะ ลดละเลิก สิ่งที่กระตุ้นให้ตื่นตัว เช่น ชา กาแฟ คาเฟอีน เครื่องดื่มชูกำลัง แอลคานิทีน และต้อง การหยุดดูทีวี ดูจอมือถือ สิ่งที่กระตุ้นตา ก่อนนอนซัก 30 นาที นะคะ

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ตัวอย่างการรักษา binge


 ตัวอย่างการรักษา binge

สำหรับการรักษาbinge แต่ละคนจะมีแนวทางในการรักษาหลักเหมือนกัน แต่ใน detail ของเรื่องสารอาหารและ การออกกำลังกาย รวมถึงการปรับ mindset จะแตกต่างกันค่ะ

สำหรับ ท่านที่ยังไม่ได้อ่านวิธีการรักษาหลัก อ่านบทความก่อน ได้ที่ลิงค์ท้ายบทความค่ะ




สำหรับเคส คุณอ. ทักแอ๋มมาด้วยเรื่องการรักษา binge เพราะคุณ อ.ได้สำรวจและศึกษาอาการ binge มาและได้เคยเทรนการลดน้ำหนักกับเทรนเนอร์ท่านก่อนและทราบว่าตัวเองเป็น binge

แอ๋มนัดสัมภาษณ์ทางไลน์คอลกับคุณอ. 1 ชั่วโมงจนได้ข้อสรุปของอาการต่างๆ และได้รู้ที่ไปที่มาที่แท้จริงชองโรคที่นอกเหนือไปจากการลดน้ำหนักที่ผิดวิธี ... ตรงนี้เป็นเรื่องส่วนตัวขอละไว้ไม่เล่าละเอียดนะคะ

หลังจากเรานัดสัมภาษณ์กัน 3 วัน แอ๋มนัดสอนบทเรียนทางไลน์คอลอีกครั้ง ในเรื่อง ความรู้พื้นฐานเรื่อง binge 4 บท และ เรื่องโภชนาการโปรตีน1บท ด้วยวสาเหตุที่คุณ อ. กินขาดสารอาหารมานาน และ การกินโปรตีนเป็นสิ่งที่คุณ อ. ขาดมากที่สุด

หลังจากสอน นี่คือ goal plan 1 สัปดาห์ของคุณอ. ที่ทั้งแอ๋มและคุณอ. ช่วยกันวางแผนร่วมกัน เพื่อทำให้เหมาะกับ lifestyle คุณอ. มากที่สุดและทำได้จริงค่ะ


หลังจาก set goal แล้ว ระหว่างสัปดาห์นักเรียนจะต้องส่งการบ้าน อาหาร ออกกำลังกาย และ mindset เพื่อให้แอ๋มตรวจและวิเคราะห์ในการรักษา ซึ่งแอ๋มจะคุยไลน์คอล 1 ต่อ 1 เพื่อสอนบทเรียนใหม่ และ สรุปการบ้านทุกอาทิตย์ค่ะ


และนี่คือ ตัวอย่างการบ้านอาหารใน day1 ค่ะ ซึ่งกินมากกว่าปกติที่คุณ อ ที่เคยกินมา ซึ่งอย่าลืมว่า การรักษา binge ไม่เกี่ยวข้องกับการกินคลีนนะคะ หลักของการรักษาคือ กินอาหารครบ ไม่ขาด และไม่เกิน ไม่ใช่ต้องกินคลีน คีโต  และทีสำคัญไม่ควรทำ if ค่ะ เพราะ ยิ่งทำให้ร่างกายเกิดความเครียดจนเกินไป ทั้งทางร่างกายและจิตใจ



สำหรับการดูแลเรื่องสารอาหาร ไม่ต้องนับแคลค่ะ การนับแคลเป็นสิ่งที่ไม่ได้บอกถึงคุณภาพของอาหารเลย หากคุณกินอาหารแคลต่ำมาก  เช่น น้ำหวาน0แคลเป็นเบรก  สู้คุณกินนม กินถั่ว ที่แคลสูงกว่า แต่ได้สารอาหารที่เหมาะสมกับคุณดีกว่าค่ะ

สำหรับการสอน แอ๋มจะสอนการดูสารอาหารเป็นส่วนๆ ซึ่งง่ายกว่าการชั่งอาหารเป็นกรัมๆ มากค่ะ วิธีนี้เป็นวิธีที่กะด้วยตาได้ ไม่ต้องไปพกตราชั่ง หรือ ชั่งทุกอย่างตลอดเวลาค่ะ สามารถกินข้าวนอกบ้านได้แบบสบายใจ โดยไม่ต้องกลัวว่าตัวเองจะกินมากเกินไปค่ะ


สุดท้ายคือ หัวข้อ  mindset จะเป็นการสรุปความรู้สึกจากข้างในค่ะ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง มีความสุขดีไหม เป็นการเล่าให้ฟังจดไดอารี่แบบสบายๆ ค่ะ

สำหรับเคสนี้ 1 สัปดาห์ผ่านไป
จาก binge ทุกวันเหลือเพียง 2 วัน/สัปดาห์ อาหารที่กินตอน binge ที่เดิมกินหนักมาก ผลไม้เป็นกิโล ขนมหลายกล่อง เหลือเพียง กินขนม1-2 กล่อง  กินโปรตีนถึงเกือบทุกวัน มีความสุขมากขึ้น และนี่คือ ผลสรุปปิดจบสัปดาห์แรกค่ะ



แนวทางในการรักษาของแต่ละคน และบทเรียนที่แต่ละคนได้รับจะไม่เหมือนกัน100%  นะคะ แอ๋มจะปรับบทเรียน อาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับlifestyle ในแต่ละคน ไม่สามารถ copy ได้นะคะ เอาเป็นแบบอย่างไอเดียได้ค่ะ



หวังว่าจะมองเห็นภาพและมีประโยชน์นะคะ
รัก
ครูแอ๋ม


เช็คตัวเองว่าเป็น โรคกินไม่หยุด binge หรือไม่ : https://amyamps.blogspot.com/2019/05/eating-disorder-binge-1.html 
รักษา binge (1)  : https://amyamps.blogspot.com/2019/05/binge-1.html
รักษา binge (2) ([บทความนี้) : https://amyamps.blogspot.com/2019/05/binge-2.html
รักษา bigne (3) : https://amyamps.blogspot.com/2019/05/case-binge-4-binge.html

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

โภชนาการไขมัน: อาหารแลกเปลี่ยน

นี่คือบทที่3 สำหรับเรื่องไขมัน ซึ่งเป็นบทสุดท้าย สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่นี่ ค่ะ
บทที่1 ไขมันดี ไขมันเลว กดที่นี่
บทที่ 2 กินไขมันเท่าไรต่อวัน ถึงจะพอดี ไม่อ้วน หุ่นดี และเมนท์ไม่ขาด กดที่นี่ 


และนี่เป็นบทที่3 คือ อาหารแลกเปลี่ยน หลังจากทราบแล้วว่าอะไรคือไขมันดี ไขมันเลว และ ต้องกินไขมันรวมต่อวันเท่าไร ในบทนี้เราจะมาแยกย่อยว่า ในแต่ละมื้อจะกินอาหารที่มีไขมันเท่าไร เช่น กินถั่วเท่าไร กินอะโวคาโดกี่ลูก ไข่แดงกี่ลูก  น้ำมันกี่ช้อนโต๊ะดี  



ที่มาของสำหรับอาหารแลกเปลี่ยน
 อาหารแลกเปลี่ยน ( Food Exchange) เป็นการจัดกลุ่มอาหารโดยยึดปริมาณ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เป็นหลัก โดยที่อาหารในแต่ละหมวดจะให้พลังงานและสารอาหารหลัก ดังกล่าวในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน จึงสามารถนำอาหารภายในหมวดเดียวกันมาแลกเปลี่ยนกันได้ ซึ่งองค์กร เกี่ยวกับด้านอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา คือ American Dietetic Association และ American Diabetes Association เป็นผู้ที่วางแผนจัดทำเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1950 เพื่อนำมาใช้ในการเป็นคู่มือการจัดอาหารให้แก่ ผู้ป่วย ทำให้ผู้ใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยนสามารถเลือกกินอาหารได้หลากหลายชนิดมากขึ้น โดยที่ยังได้รับ พลังงาน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ที่ไม่แตกต่างจากเดิมต่อมา

 ฝ่ายโภชนาการโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะกรรมการชมรมนักกำหนดอาหารและคณะกรรมการชมรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ได้ระดมความคิดเห็น จากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งนักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ อาจารย์ในสถาบันศึกษาต่างๆ มาร่วมกันจัดทำ “ ตาราง คุณค่าอา หารและรายการอาหารแลกเปลี่ยนไทย ” เพื่อให้เหมาะสมกับอาหารไทย โดยใช้รายการอาหาร แลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ และข้อมูลจากตารางคุณค่าอาหารในส่วนที่กินได้ 100 กรัม ของกอง โภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขและต่างประเทศมาดัดแปลงและได้นำมา ใช้ในการก าหนด อาหารให้แก่ผู้ป่วยและประชาชนคนไทยทั่วไป


ใน1 ส่วน คือ ไขมัน45 kcal หรือ  5 กรัม การแบ่งตารางไขมัน จะแบ่งเป็น ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว และ ไขมันอิ่มตัวแบ่งเป็น 2 ประเภทย่อย คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน  



การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

1 หลังจากเราคำนวณไขมันต่อวันได้ใน ep.2  แล้ว ให้หารแบ่งป็นมื้อๆ ว่ากินกี่มื้อ เช่น ต้องกินไขมัน  40 กรัม กิน4 มื้อ ก็คือ มื้อละ 10 กรัม
2. เปิดตารางอาหารแลกเปลี่ยน ด้านบน และ หมวดโปรตีน  เพื่อนำไขมันมาประกอบอาหาร โดยกะๆ ว่าจะต้องได้ไขมันประมาณ 10 กรัม ต่อมื้อ


กรณีที่ เป็นอาหารสำเร็จรูป หรือ อาหารที่มีฉลากโภชนาการให้ยึดตามฉลากโภชนาการไปเลย เช่น นม โยเกริ์ต ขนมต่างๆ

3. ไขมันมักจะปนกับโปรตีนอยู่แล้ว ดังนั้น หากกินเนื้อสัตว์ให้เปิด อาหารแลกเปลี่ยนหมวดโปรตีนประกอบ กดที่นี่
หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ สำหรับนักเรียนครูแอ๋มทุกคน หลังอ่านจบ ฝากตอบคำถามในไลน์ว่า สรุปแล้ว เราต้องกินไขมันวันละกี่กรัม และ ต้องกินมื้อละกี่กรัม ให้ครูตรวจด้วยน้า

รัก
ครูแอ๋ม  

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง รู้เรื่องแป้ง ep.1 : Complex Carb กินแป้งยังไงให้ไม่อ้วน
โภชนาการ ผลไม้ : ผลไม้อะไร กินได้แค่ไหน 
โภชนาการ โปรตีน : อาหารแลกเปลี่ยน โปรตีน 
โภชนาการ ไขมัน: ไขมันดี ไขมันเลว 

บทความน่าอ่าน

เภสัชขอบอก EP.3 : Foodvolume จัดสัดส่วนอาหารให้เป๊ะ แบบไม่ต้องคำนวณ

เภสัชขอบอก EP.3 :จัดสัดส่วนอาหารให้เป๊ะ แบบไม่ต้องคำนวณ ถ้าคิดจะลดน้ำหนัก เริ่มต้นยังไม่ต้องไปนึกถึง อะไรยากๆ เช่น กินคลีน ออกกำลังก...

บทความที่ได้รับความนิยม