วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562

กระดูกพรุน 5 ข้อต้องรู้!! การป้องกันและการรักษาโรค

สวัสดีค่าทุกคน เภสัชขอบอก วันนี้เราจะมาพูดถึง เรื่องโรคกระดูกพรุน ค่ะ 

โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทีใกล้ตัวมากๆ และมีโอกาสเป็นได้ทุกคน คนส่วนใหญ่กว่าจะรู้ตัวก็เมื่อกระดูกหัก หรือบาดเจ็บไปแล้ว คนไข้หลายคน และหลายครั้งที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้สูงอายุ เพียงล้ม หรือ เกิดอุบัติเกตุเล็กน้อยก็ต้องนอนรพ เพราะกระดูกหัก

ในบทนี้แอ๋มก็มีวิธีป้องกันให้มันเป็นช้า ที่สุด หรือ หากเป็นแล้ว เราก็สามารถชะลอความเสื่อมได้อย่างไร มาเรามาเริ่มกันเลย

กดที่นี่ดูคลิป ใน YOUTUBE




1 กระดูกประกอบด้วยอะไรบ้าง 

ส่วนประกอบในกระดูกประกอบด้วย โครงสร้างโปรตีน (คอลลาเจนและไฮยารูรอน) และแร่ธาตุ (แคลเซียม)

กระดูกพรุนเกิดจาก ความไม่สมดุลระหว่าง การทำงานร่วมกันของเซลล์สลายกระดูกและเซลล์สร้างกระดูก  โดยการไม่สมดุลนั้นจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนและสารภายในร่างกายหลายชนิด

การเติบโตของกระดูกจะเกิดขึ้น ตั้งแต่วัยเยาว์จนได้ความหนาแน่นของมวลกระดูกสูงที่สุดที่อายุ 20 ปีในผู้หญิง และ 25 ปีในผู้ชาย หลังจากนี้มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นลดลงอย่างช้าๆ พบว่าที่อายุ 40 ปีขึ้นไปมวลกระดูกจะมีความหนาแน่นลดลงร้อยละ 0.5-1 ต่อปี แต่สำหรับผู้หญิงในช่วง 10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน ความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลงเร็วมากกว่าเดิมถึง 5 เท่า คือร้อยละ 3-5 ต่อปี





2 โรคกระดูกพรุนมีอาการอย่างไร 

โรคนี้ ไม่มีอาการ ตอนที่มวลกระดูกบางลงมันจะไม่รู้สึกหากไม่ตรวจ จะรู้ตัวก็ตอนหักไปแล้ว ผ้สูงอายุหลายคน ตกบันไดขั้นสองขั้น หรือ ลื่นเพียงเล็กน้อย ก็เกิดกระดุกหักได้


โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่เกิดความไม่สมดุลในกระบวนการสร้างและทำลาย พูดง่ายๆคือ สลายไปมากกว่าสร้าง ทำให้มวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง เนื้อกระดูกบางลง มีความแข็งแรงน้อยลง เปาะ แตกหักง่าย




โรคกระดูกพรนเป็นได้ทุกคน  แอ๋มแทรก ตารางปัจจัยเสี่ยงคนที่มีโอกาสเป็นกระดูพรุนไว้ให้นะคะ ตรงนี้ cap ภาพไปได้เลย ใครมีภาวะความเสี่ยงเยอะ ควรรีบปรับเปลี่ยนความเสี่ยงนั้น หรือ หากปรับไม่ได้ ขอให้รีบตุน สารอาหารที่เกี่ยวกับกระดูกให้มากที่สุด ก่อนที่จะเริ่มพรุนค่ะ


https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/picture/0217-1.gif

 

3 การรักษากระดูกพรุน

การรักษากระดูกพรุนจะต้องอยู่ในการดูแลวินิฉัยของแพทย์ เพราะ ต้องวัดมวลกระดูก ความหนาแน่นกระดูกว่า มีมากน้อยแค่ไหน ต้องให้แพทย์ประเมิณความเสี่ยง และการให้ยา

3.1 ยาที่ใช้ในการรักษามี2แบบ คือ
ยาที่ลดการสลายกระดูกและยาที่ช่วยเสริมการสร้างกระดูก
ยาแต่ละแบบ จะเหมาะกับคนที่แตกต่างกัน ต้องตรวจค่า lab
หาความหนาแน่นของมวลกระดูก และดูปัจจัยเสี่ยง

3.2 โดยแต่มีทั้งแบบกิน แบบฉีด มีทั้งแบบฉีดปีละครั้ง
กินอาทิตย์ละครั้ง แตกต่างกันไป ตรงนี้ขอให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายค่ะ
ปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางการักษานะคะ แต่ละคนมีแนวทางต่างกัน




4 โภชนาการป้องกันโรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุนกว่าจะมีอาการก็เมื่อกระดูกบาง หัก หรือ เสื่อมไปแล้ว ดังนั้น การป้องกันไว้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่สุด

โดยอาหารที่เกี่ยวข้องกัยเรื่องกระดุกมีดังนี้

4.1 แคลเซียม

  • อย่างที่ทุกคนรู้แคลเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูกถึง 80 % แต่ทุกคนรู้ไหม?? เราคนไทยกินแคลเซียมน้อยกว่าที่ควรมาก คนปกติควรกินแคลเซียม 800-1000 มก แต่จากงานวิจัยคนไทยกินแคลเซียมเฉลี่ยประมาณ 300-400  มก เท่านั้น
  • อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมวัว ถ้าเทียบก็นม 1 กล่อง มีแคลเซียม 200 มก นอกจากนี้ก็มี พวกเต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง และผักใบเขียว


4.2 วิตามินดี


  • ใช้ในการดึงแคลเซี่ยมที่ได้จากการกินไปสะสมที่กระดูกมากขึ้น หากไม่ได้วิตามินดีที่เพียงพอแล้ว กินแคลเซี่ยมอย่างเดียว แคลเซี่ยมก็ไม่ได้สะสมที่กระดูก
  • คนไทยปัจจุบันยังได้รับวิตามินดีไม่พอ  เพราะกลัวแดด หลบแดดกัน เพราะกลัวร้อน กลัวผิวเสีย มะเร็งผิวหนัง ฝ้า กระ ทำให้ส่วนใหญ่ได้รับวิตามินดี ไม่เพียงพอตามเกณฑ์ขั้นต่ำ
วิตามินดีไม่ได้มาจากแดดอย่างเดียว ในอาหารต่างๆ เช่น ปลาแซลมอน ไข่ ปลาทูน่า หรืออาหารเสริมต่างๆ
4.3 วิตามินเค2  ตัวนี้คนไทยไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไหร่ แต่ในต่างประเทศมีการศึกษาวิจัยมานานแล้ว
จากข้อมูลวารสารกรมแพทย์ หัวข้อ กินแคลเซี่ยมเสริมอาจได้เส้นเลือดแข็ง แต่กระดูกไม่หายพรุน  แคลเซี่ยมนอกจากเกาะที่กระดูกแล้วมันยังเกาะที่เส้นเลือด ลิ้นหัวใจ ทำให้เส้นเลือดแข็งได้อีกด้วย  วารสารนี้ได้บอกว่า วิตามินเค2 จะช่วยในการจัดการแคลเซี่ยมให้วางตัวถูกที่ถูกทาง ทำให้แคลเซี่บมเกาะสะสมกันที่กระดูกได้ดีขึ้น ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่หักง่าย
อาหารที่มีวิตามินเค 2 ที่มากที่สุดคือ นัตโตะ รองลงมาคือ พวก ชีสและไข่ค่ะ







5 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับโรคกระดูกพรุน

อันนี้้เป็นผลิตภัณฑ์จูโรจิน แอ๋มถือว่าเป็นตัวอย่างในการอ่านฉลากนะคะ พราะ ของเค้ามีครบทั้งสารหลัก 3 ตัว ฉลากต่างๆ ทำได้ถูกต้อง อ่านง่าย และมีช่องทางติดต่อที่เราจะติดต่อได้ง่ายค่ะ



ถ้าใครจะกินก็อยากให้ยึดเอาวิธีการอ่านฉลากประมาณนี้ ไม่จำเป็นต้องกินตามก็ได้ แต่อยากสอนวิธีการดู วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันกระดูกให้ดูเฉยๆนะคะ

5.1 ต้องอ่านฉลากดูว่ามี เลข อย. มีชื่อและที่อยู่ผู้ขายชัดเจน อาหารเสริมเรื่องกระดูกพรุน เป็นสิ่งที่เราต้องกินนานเป็นปีๆ
ดังนั้น หากกินแล้วมีปัญหาเราต้องรู้ว่าเราจะไปติดต่อ ร้องเรียน ใครค่ะ




5.2 มีส่วนประกอบหลัก คือ 2-3 ตัว ได้แก่ แคลเซี่ยม วิตามินดี และวิตามินเค2 แต่ละเจ้าก็จะมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่แตกต่างกันออกไปอีก เช่นสารสกัดจากพืช หรือ คอลลาเจน ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามหากกินเพื่อหวังผลเรื่องกระดูกพรุน ควรเลือกเจ้าที่มีส่วนประกอบหลักครบค่ะ







5.3 วันที่ผลิตหมดอายุและ lot เราจำเป็นมากที่ต้องเช็คตรงนี้ให้ดี หลายครั้งที่ร้านต่างๆ เอาของมาลดราคา แล้วมันใกล้หมดอายุ


ปล. แอ๋มไม่ได้ขายนะคะ ส่วนใครสนใจก็ไปเสิร์ชหาชื่อ juroujin นะคะ
หรือกดที่นี่ ค่ะ ขอขอบคุณจูโรจินด้วยค่ะ
อนุญาตให้แอ๋มนำมาใช้ในการให้ความรู้ในครั้งนี้ค่ะ


อยากจะพูดคุยกันก็สามารถเข้ามาพูดคุยกันได้ใน comment ใน facebook page หรือใน IG ของแอ๋มนะคะ


ขอบพระคุณมากที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้นะคะ
หวังว่าจะมีประโยชน์ ขอบคุณทุกคนที่ตั้งใจดู
อย่าลืมกด like กด share เป็นกำลังใจให้แอ๋มด้วยนะคะ

ขอให้สุขภาพแข็งแรงกันทุกคนค่ะ
แอ๋ม


อ่านบทความย้อนหลังที่เกี่ยวข้อง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความน่าอ่าน

เภสัชขอบอก EP.3 : Foodvolume จัดสัดส่วนอาหารให้เป๊ะ แบบไม่ต้องคำนวณ

เภสัชขอบอก EP.3 :จัดสัดส่วนอาหารให้เป๊ะ แบบไม่ต้องคำนวณ ถ้าคิดจะลดน้ำหนัก เริ่มต้นยังไม่ต้องไปนึกถึง อะไรยากๆ เช่น กินคลีน ออกกำลังก...

บทความที่ได้รับความนิยม